Posts Tagged ‘หน้าต่างไม้’

ผ้าม่านและมุ้งลวดติดยังไงให้สวย

ผ้าม่าน

บางครั้งติดตั้งผ้าม่านให้ใหญ่กว่าบานหน้าต่าง แต่สมดุลกับขนาดของผนังอาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ผ้าม่านดูลอยๆไม่หลอกตา นอกจะนี้ยังมีปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆคือ ระยะการซ่อนรางม่านในพื้นที่่ที่จำกัด เมื่อติดแล้วดูไม่สวยงาม เทอะทะ หรือใกล้กับเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินเกินไป โดยเฉพาะการติดตั้งผ้าม่านปบบสองชั้นหรือสามชั้น ยิ่งต้องการรางเลื่อนเพิ่มมากขึ้น และต้องใช้พื้นที่มากขึ้นเป็นพิเศษด้วย ดังนั้นจึงควรวางแผนเรื่องการติดตั้งม่านให้ดีตั้งแต่ตอนทำงานฝ้าและออกแบบเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน

สำหรับการแก้ปัญหาพื้นที่ติดตั้งรางม่านมีจำกัดในภายหลังนั้นอาจะเลือกใช้มูลี่ (แบบแนวตั้งและแบบแนวนอน) ม่านชัก หรือม่านม้วนแทน ก็เป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ้ง เพราะใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย ติดตั้งง่าย และมีความเรียบร้อยในตัว

ติดผ้าม่านให้สวยมุ้งลวด

สำหรับบานเปิด สามารถติดตั้งประตูมุ้งลวดเล็กๆอีกบานที่ด้านในได้ของบ้านในภายหลังได้ แต่สำหรับบานเลื่อน ปัญหาที่พบบ่อยคือการไม่ได้เผื่อรางไว้สำหรับบานมุ้งลวด ทำให้จำเป็นต้องติดตั้งกล่องบางๆเป็นรางเสริมมุ้งเพิ่มเข้าไป ซึ้งอาจจะดูเทอะทะไม่สวยงาม นอกจากนี้ทั้งบานมุ้งลวดทั่วๆไปมักมีกรอบบานที่ทั้งแล็กเละทั้งบาง ทำให้เกิดการบิดตัวง่าย เปิด-ปิด ใช้งานยาก จึงควรเสริมโครงเพิ่มความแข็งแรง หรือออกแบบให้บานกรอบมีขนาดที่ีหนาขึ้นพอสมควร

มุ้งลวดในท้องตลาดจะผลิตจากวัสดุ 3 ชนิดด้วยกัน คือ เหล็ก อลูมิเนียม และพลาสติก  คนทั่วไปมักใช้มุ้งลวดสีเลินทำจากอลูมิเนียม เพราะเมื่อชำรุดสามารถซ่อมแซมและหาซื้อและหาซื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่าย แต่ทางร้านก็อยากแนะนำให้ใช้มุ้งลวดสีดำที่่ทำจากพลาสติกดูบ้าง เพราะมุ้งสีัดำสามารถมองทะลุได้ดีตอนกลางคืน และดูขัดตาน้อยกว่าสิ่งอื่นๆ

สำหรับห้องที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มักมีการออกแบช่องลมเหนือหน้าต่างเพื่อช่วยให้ความร้อนที่ลอยตัวสูงผ่านออกไปได้ง่าย ควรติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกันยุงและแมลงด้วย สำหรับเจ้าของบ้านืที่ชอบการเปิดหน้าต่างรับลม แต่กลัวยุงเข้า ควรรู้ไว้ว่า การติดตั้งมุ้งลวดจะทำให้ลมผ่านได้น้อยกว่าไม่ถึง 50 เปอร์เซนต์ ส่วนบานเฟี๊ยมนั้นไม่สามารถติดตั้่งมุ้งลวดได้ เนื่องจากจะติดกับบานประตูเวลาเปิดปิดใช้งาน

ที่มา: บ้านและสวน

 

บ้านเก่าจะเจาะหน้าต่างเพิ่มขึ้นได้ไหม

บ้านที่เป็นผนังก่ออิฐ สามารถเพิ่มหน้าต่างได้โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เจาะช่อง โดยกำหนดแนวเจาะให้สูงตลอดแนวตั้งแต่พื้นจรดคาน (ด้านข้างควรมีขนาดใหญ่กว่าวงกบประมาณ 10-15 เซนติเมตร) การเจาะเพื่อไม่ให้ผนังบอบช้ำมากควรกรีดผนังด้วยเครื่องตัดใบมีดหมุน (หรือที่ช่างทั่วไปเรียกว่า”ลูกหมู”) ให้เป็นแนวทางนำไปก่อน จากนั้นค่อยๆทุบผนังออกเบาๆทีละน้อย

2. เสาเอ็นและทับหลัง เมื่อเจาะผนังเสร็จแล้ว สกัดผนังตรงแนวสันให้เป็นรูเพื่อฝังเหล็กหนวดกุ้งที่สันผนังโดยรอบ ตั้งวงกบตามตำแหน่งที่ต้องการ ( วงกบไม้ อย่าลืมตอกหัวตะปูโดยรอบทุกๆระยะ 10-15 เซนติเมตร สำหรับยึดเสาเอ็นและทับหลัง)

บ้านเก่าเจาะเพิ่มหน้าต่างได้ไหม

เพิ่มหน้าต่าง

3. จากนั้นวางเหล็กผูกและไม้แบบเพื่อเทเสาเอ็นและทับหลัง รอให้คอนกรีตบ่มจนได้ที่จึงถอดไม้ออก แล้วก่ออิฐให้เต็มผนังในช่องว่างส่วนด้านล่างและเหนือบานหน้าต่าง

4. ฉาบเก็บงาน เพื่อให้ได้ผิวปูนฉาบที่เนียนไปกับผนังเดิมให้กรีดปูนฉายเดิมเฉียงๆโดยมีระยะฉาบที่เพียงพอประมาณ 20-25 เซนติเมตร ติดตั้งตะแกรงลวด (ลวดกรงไก่) ก่อนฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวระหว่างปูนฉาบเดิมกับปูบฉาบใหม่ บางครั้งช่างอาจจะสกัดปูนฉาบเดิมทั้งผนังเพื่องานฉาบที่ดีกว่า

แบบบานหน้าต่าง

หน้าต่างชนิด บานเกล็ด

:หน้าต่างชนิด บานเกล็ด:


เป็นหน้าต่างรูปแบบสุดท้ายแล้วนะคะ หลังจากที่ได้ดูรูปแบบหน้าต่างในหลายๆแบบ ตัดสินใจได้รึยังคะ ว่ารูปแบบไหนเหมาะสมกับการใช้สอย เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบ้าน อาคารที่อยู่อาศัยของเรา

หน้าต่างชนิดบานเกล็ด หรือ เรียกกันทั่วไปว่าหน้าต่างแบบเกล็ดหมุน จะไม่มีบานเปิด-ปิดออกสู่ภายในหรือภายนอก ใช้สำหรับเพื่อระบายอากาศหรือรับลมและแสงสว่างจากภายนอก เพียงแค่หมุนบานเกล็ดก็สามารถรับลมจากภายนอกได้แล้ว โดยทั่วไปบานเกล็ดมักเป็นกระจก เพื่อให้มองเห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน บ้านพักอาศัยส่วนใหญ่มักใช้บานเกล็ดชนิดนี้

นอกจากนั้น ยังมีบานเกล็ดชนิดที่เป็นไม้ แต่ จะมองเห็นภายนอกได้ไม่ชัดเจน หากบ้านไหนที่มีห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศควรหลีกเลี่ยงการทำหน้าต่างแบบ บานเกล็ด เพราะจะมีรอยรั่วทำให้อากาศจากภายนอกเข้ามาภายในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก สิ้นเปลืองพลังงานค่ะ

สั่งทำวงกบบานเกล็ด (เกล็ดหมุน)